วันพุธที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2557

ธรรมาภิบาลเชิงพุทธ



ธรรมาภิบาลเชิงพุทธ (Buddhist Good governance) ที่ปรากฏขึ้นในพระไตรปิฎก ในอัคคัญญสูตร ทีฆนิกาย เกี่ยวกับการกำเนิดมนุษย์ที่ไม่มีความแตกต่างทางชนชั้น สังคมของมนุษย์เริ่มมีการพัฒนาในสูตรนี้กล่าวว่า การปกครองเริ่มต้นมาจากมนุษย์มีความเกียจคร้านนำข้าวมาเก็บสั่งสมและเกิดความนิยมทำตามกัน เกิดการปักปันกั้นเขตแบ่งส่วนข้าว คนโลภลักส่วนของคนอื่นมาเพิ่มแก่ตน (เกิดอทินนาทาน) เกิดการตำหนิติเตียน การกล่าวเท็จ การทำร้ายลงโทษ การต่อสู้ ผู้มีปัญญาเห็นความจำเป็นต้องมีการปกครองสัญญาประชาคมของรุสโซ ดังที่สมบัติ จันทรวงศ์ ได้สรุปว่า สัญญาประชาคม คือข้อตกลงของมนุษย์ที่จะสร้างสังคมการเมืองและจัดตั้งเครื่องสิทธิอำจาจอธิปไตยขึ้น) เกิดการเลือกตั้ง (นี้เป็นแนวคิดที่สำคัญซึ่งภายหลังต่อมาเรารู้จักกันในนาม) เกิดมีคำว่า “กษัตริย์มีคนเบื่อหน่ายความชั่วร้ายในสังคม คิดลอยล้างบาปไปอยู่ป่าบำเพ็ญฌาน บางพวกอยู่ใกล้ชุมชน เล่าเรียนเขียนตำรา เกิดมีคำว่า”พราหมณ์”เป็นต้น คนมีครอบครัวประกอบการอาชีพประเภทต่างๆ เกิดมีคำว่า”แพศย์” คนนอกจากนี้ ซึ่งประพฤติเหลวไหลเลวร้าย ถูกเรียกว่า”ศูทรคนทั้งสี่พวกนั้นบางส่วนละเลิกขนบธรรมเนียมของคน สละเหย้าเรือนออกบวช เกิดมี”สมณ” (ที.ปา.11/111-140/83-102)