วันพฤหัสบดีที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2555

เรื่องของผู้ใหญ่อยากให้เด็กเรียนประชาธิปไตย

ต้องให้เด็กๆมาเรียนประชาธิปไตยแล้วหรือ  ผู้ใหญ่ยังไม่รู้เรื่องแล้วเด็กๆจะเข้าใจไหมครับ

ภาพที่คนไทยไม่อยากเห็น

ภาพนี้เห็นกันบ่อยในการเมืองไทย

วันเสาร์ที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2555

การเมืองท้องถิ่น

วันอาทิตย์ที่  22  มกราคม  2555 เวลา่  08.00 - 15.00 น.  เลือกตั้งนายก อบต.  และ  สมาชิก อบต ตำบลกระแชง   อ. สามโคก  จ. ปทุมธานี

วันพุธที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2555

การเมืองกับน้ำท่วมคนละเรื่องเดียวกัน


น้ำท่วมภัยร้ายในสายตามนุษย์
      บทเรียนอุทกภัยในครั้งนี้สอนให้มนุษย์รู้ถึงภัยของน้ำ  แม่น้ำ  สายน้ำ  รู้จักแบ่งปัน  มีน้ำใจต่อกัน  และเป็นกำลังใจให้กัน  เรียนรู้ที่จะสู้กับน้ำ  จะทำอย่างไรไม่ทำให้น้ำท่วม น้ำท่วมภัยที่เกิดจากธรรมชาติ  หรือ มนุษย์เป็นผู้สร้างโดยมนุษย์ตัดต้นไม้ทำลายป่า  สร้างสิ่งปลูกสร้างรุกล้ำแม่น้ำ
      เหตุการณ์ภัยพิบัติได้สร้างความเสียหายอย่างมหาศาลให้แก่ประเทศ  ประชาชนหลายร้อยครอบครัวต้องได้รับความเดือดร้อนแสนสาหัส บ้านเรือน ทรัพย์สิน สวนไร่นาจมน้ำ ถนนหนทางระบบสาธารณูปโภค ประปา ไฟฟ้าพังพินาศ
      ดังนั้น  สิ่งที่จะต้องทำของรัฐบาลโดยทันที คือ เรื่องการฟื้นฟูเยียวยาจ่ายเงินช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยครัวเรือนละ  5,000 บาท  เงินชดเชยกรณีบ้านเสียหาย ชดเชยความเสียหายทางการเกษตร  นอกจากนี้รัฐบาลต้องดำเนินการฟื้นฟูโครงสร้างพื้นฐานต่าง โดยเฉพาะถนน  สะพาน  ที่พังเสียหายจากน้ำท่วม
      ที่สำคัญ หลังจากผ่านเหตุการณ์วิกฤติอุทกภัยที่เกิดความเสียหายบริเวณกว้าง  มีประชาชนได้รับความเดือดร้อนหลายล้านคน  ไร่นาพืชผลทางการเกษตรเสียหาย  นิคมอุตสาหกรรมพังเสียหาย  ต้องใช้เวลาซ่อมแซมฟื้นฟูหลายเดือน  สถานการณ์เช่นนี้ ย่อมมีผลข้างเคียงตามมา  ทั้งเรื่องข้าวยากหมากแพง  ผู้คนตกงาน  เกิดปัญหาสังคมอีกมาก  เมื่อความเดือดร้อนไม่ได้รับการแก้ไข  ก็จะมีการเรียกร้องต่างๆตามมา  นอกจากรัฐบาลจะต้องเยียวยาฟื้นฟูประชาชนที่เดือดร้อนจากวิกฤติน้ำท่วมแล้ว  สิ่งที่ต้องเร่งดำเนินการ คือ การสร้างความเชื่อมั่นให้นักลงทุนต่างประเทศที่ได้รับผลกระทบจากมหาอุทกภัย  นิคมอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ 7 แห่ง  ในจังหวัดอยุธยา  และ  ปทุมธานี  โดนน้ำท่วมจมอยู่ใต้บาดาล  โรงงาน  เครื่องจักร  อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์  พังเสียหาย

วันพฤหัสบดีที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2555

การปกครองส่วนท้องถิ่นในประเทศไทย


การปกครองส่วนท้องถิ่นในประเทศไทย
1. การปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบทั่วไป เป็นรูปแบบการปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีอยู่ทั่วประเทศทุกจังหวัด ได้แก่ เทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) และองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.)
2. การปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ ส่วนใหญ่จะเป็นเขตเมืองใหญ่ เช่น เมืองหลวงหรือเมืองท่องเที่ยว ซึ่งไม่เหมาะสมที่จะใช้รูปแบบทั่วไปมาใช้ในการปกครอง ปัจจุบันมีกรุงเทพมหานครและเมืองพัทยา
ความสำคัญของการปกครองท้องถิ่น
1. การปกครองท้องถิ่นถือเป็นรากฐานของการปกครองระบอบประชาธิปไตย
2. การปกครองท้องถิ่นเป็นการแบ่งเบาภาระของรัฐบาล
3. การปกครองท้องถิ่นจะทำให้ประชาชนรู้จักการปกครองตนเอง เพราะเปิดโอกาสให้ประชาชนได้เข้าไปมีส่วนร่วมทางการเมือง
4. การปกครองท้องถิ่นสามารถตอบสนองความต้องการของท้องถิ่นตรงเป้าหมาย และมีประสิทธิภาพ
5. การปกครองท้องถิ่นจะเป็นแหล่งสร้างผู้นำทางการเมือง การบริหารของประเทศในอนาคต
6. การปกครองท้องถิ่นสอดคล้องกับแนวคิดในการพัฒนาชนบทแบบพึ่งตนเอง
หน้าที่ความรับผิดชอบของหน่วยการปกครองท้องถิ่น
1. เป็นงานที่เกี่ยวกับสภาพแวดล้อมของท้องถิ่น และงานที่เกี่ยวกับการอำนวยความสะดวกในชีวิตความเป็นอยู่ของชุมชน ได้แก่ การจัดทำถนน สะพาน สวนหย่อม สวนสาธารณะ การกำจัดขยะมูลฝอย เป็นต้น
2. เป็นงานที่เกี่ยวกับการป้องกันภัย รักษาความปลอดภัย เช่น งานดับเพลิง
3. เป็นงานที่เกี่ยวกับสวัสดิการสังคม ด้านนี้มีความสำคัญต่อประชาชนในท้องถิ่นมาก
4. เป็นงานที่เกี่ยวกับพาณิชย์ท้องถิ่น เป็นงานที่หากปล่อยให้ประชาชนดำเนินการเองอาจไม่ได้รับผลดีเท่าที่ควรจะเป็น
ข้อมูลความรู้จาก http://reg.ksu.ac.th/teacher/katanyu/lesson/lesson1.html

รัฐธรรมนูญ

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย


รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
รัฐธรรมนูญ ฉบับที่ 1 : พระราชบัญญัติรัฐธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พุทธศักราช 2475
คณะราษฎรทำการเปลี่ยนแปลงการปกครอง 24 มิถุนายน 2475 มีจำนวน 39 มาตรา โดยหลวงประดิษฐมนูธรรม (นายปรีดี พนมยงค์) ได้ทูลเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 7) ให้ทรงลงพระปรมาภิไธย
ประกาศใช้เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ.2475
ยกเลิก" รัฐธรรญนูญฉบับนี้ เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2475
ระยะเวลาที่ใช้รัฐธรรมนูญฉบับที่ 1 ทั้งสิ้น 5 เดือน 13 วัน
รัฐธรรมนูญ ฉบับที่ 2 : รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม (ไทย) พุทธศักราช 2475
เป็นรัฐธรรรมนูญฉบับถาวร มีจำนวน 68 มาตรา ประกาศใช้เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2475 ซึ่งต่อมาถือเป็น "วันรัฐธรรมนูญ"
 ยกเลิกไปเมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม 2489 รวมระยะเวลาที่ใช้รัฐธรรมนูญฉบับที่ 2 / 13 ปี 4 เดือน 29 วัน
รัฐธรรมนูญ ฉบับที่ 3 : รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2489
ประกาศใช้เมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม 2489 ก่อนจะสิ้นสุด เนื่องจากมีการรัฐประหาร ภายใต้การนำของ พล.ท.ผิน ชุณหะวัณ ทำการยึดอำนาจ และประกาศยกเลิกเมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2490
รวมระยะเวลาที่ใช้รัฐธรรมนูญฉบับที่ 3 / 1 ปี 5 เดือน 30 วัน
รัฐธรรมนูญ ฉบับที่ 4 : รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490
ประกาศใช้เมื่อ 9 พฤศจิกายน 2490 และยกเลิกเมื่อ 23 มีนาคม 2492 เนื่องจากได้มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับถาวร
รวมระยะเวลาที่ใช้รัฐธรรมนูญฉบับที่ 4 / 1 ปี 4 เดือน 14 วัน
รัฐธรรมนูญ ฉบับที่ 5 : รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2492
ประกาศใช้เมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2492
ประกาศยกเลิกรัฐธรรมนูญ ในวันที่ 29 พฤศจิกายน 2494
พล.อ.ผิน ชุณหะวัณ ทำการยึดอำนาจการปกครองจากรัฐบาลอีกครั้ง และประกาศยกเลิกรัฐธรรมนูญ ในวันที่ 29 พฤศจิกายน 2494
รวมระยะเวลาที่ใช้รัฐธรรมนูญฉบับที่ 5 / 2 ปี 8 เดือน 6 วัน
รัฐธรรมนูญ ฉบับที่ 6 : รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2475 แก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช 2495
จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ได้ทำการรัฐประหาร ในวันที่ 16 กันยายน 2500 แต่ทว่าก็ยังคงประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับนี้ต่อไป ในวันที่ 20 ตุลาคม 2501 จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ได้ทำการรัฐประหารอีกครั้งได้ยกเลิกรัฐธรรมฉบับที่ 6
รวมระยะเวลาที่ใช้รัฐธรรมนูญฉบับที่ 6 / 6 ปี 7 เดือน 12 วัน
รัฐธรรมนูญฉบับที่ 7 : ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2502
ประกาศใช้เมื่อ 28 มกราคม 2502 และยกเลิกเมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2511
 รวมระยะเวลาที่ใช้รัฐธรรมนูญฉบับที่ 7 / 9 ปี 4 เดือน 23 วัน
รัฐธรรมนูญฉบับที่ 8 : รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2511
ประกาศใช้ เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2511 และต้องยกเลิกเมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2514 ด้วยเหตุแห่งการรัฐประหาร ที่นำโดย จอมพล ถนอม กิตติขจร ยึดอำนาจตัวเอง โดยอ้างว่า "มีบุคคลบางจำพวกอาศัยสิทธิตามรัฐธรรมนูญ ยุยง บ่อนทำลาย ใช้อิทธิพลทั้งภายในและภายนอกสภานิติบัญญัติก่อกวนการบริหารราชการของ รัฐบาล"
รวมเวลาในการใช้รัฐธรรมนูญฉบับที่ 8 / 3 ปี 4 เดือน 28 วัน
รัฐธรรมนูญฉบับที่ 9 : ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2515
ประกาศใช้เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2515 และสิ้นสุดเมื่อ 7 ตุลาคม 2517 รวมเวลาในการใช้รัฐธรรมนูญฉบับที่ 9 / 1 ปี 9 เดือน 22 วัน
รัฐธรรมนูญฉบับที่ 10 : รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2517
ประกาศใช้เมื่อ 7 ตุลาคม 2517 มีจำนวนมาตรา 238 มาตรา
ในวันที่ 6 ตุลาคม 2519 คณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน นำโดย พล.ร.อ.สงัด ชลออยู่ ได้ทำการรัฐประหารและประกาศล้มเลิกรัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญฉบับที่ 11 : รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2519
ประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับที่ 11 มีจำนวน 29 มาตรา ในวันที่ 22 ตุลาคม 2519
ประกาศใช้ได้ 11 เดือน 28 วัน พล.ร.อ.สงัด ชลออยู่ หัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดินก็ได้ทำการรัฐประหารซ้ำ และยกเลิกรัฐธรรมนูญชั่วคราวฉบับนี้ไป
รัฐธรรมนูญ ฉบับที่ 12 : ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2520
ประกาศใช้เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 2520 และยกเลิก 22 ธันวาคม 2521 เมื่อประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2521 (ฉบับถาวร)
รวมเวลาในการใช้รัฐธรรมนูญฉบับที่12 / 1 ปี 1 เดือน 13 วัน
รัฐธรรมนูญ ฉบับที่ 13 : รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2521
ประกาศใช้เมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 2521 มีจำนวน 206 มาตรา
ประกาศยกเลิกรัฐธรรมนูญ ในวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2534
รวมเวลาในการใช้รัฐธรรมนูญฉบับที่ 13 / 12 ปี 2 เดือน 1 วัน
รัฐธรรมนูญ ฉบับที่ 14 : ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2534
คณะ รักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (รสช.) ซึ่งนำโดย พล.อ.สุนทร คงสมพงษ์ คณะ รสช.จึงได้ทำการรัฐประหาร
ใช้ เมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2534 มีจำนวน 33 มาตรา แล้วยกเลิกไปวันที่ 9 ธันวาคม 2534 รวมเวลาที่ใช้รัฐธรรมนูญฉบับที่ 13 คือ 8 เดือน 8 วัน
รัฐธรรมนูญ ฉบับที่ 15 : รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2534
ประกาศใช้เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2534 มีจำนวน 223 มาตรา
พล.อ.สุจินดา คราประยูร เป็นนายกรัฐมนตรี โดยไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง ทำให้เกิดการต่อต้านอย่างหนักจากประชาชน จนเกิดเหตุล้อมปราบในเดือนพฤษภาคม 2535 หรือที่รู้จักกันดีในชื่อเหตุการณ์ "พฤษภาทมิฬ" พล.อ.สุจินดา คราประยูร ต้องพ้นจากตำแหน่ง
ยกเลิกรัฐธรรมนูญฉบับที่ 15 ในวันที่ 11 ตุลาคม 2540
ประกาศใช้ทั้งสิ้น 5 ปี 10 เดือน 2 วัน
รัฐธรรมนูญฉบับที่ 16 : รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540
ประกาศใช้เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม 2540 มีจำนวน 336 มาตรา
ฉบับนี้ ถูกยกเลิก เนื่องจากการรัฐประหารภายใต้การนำของ พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549 รวมเวลา 8 ปี 11 เดือน 8 วัน
รัฐธรรมนูญฉบับที่ 17 : รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2549
ประกาศใช้เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2549 โดยมีจำนวน 39 มาตรา
ยกเลิกไปเมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2550
รัฐธรรมนูญฉบับที่ 18 : รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550
รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน ประกาศใช้เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2550 มีจำนวนมาตรา 309 มาตรา
ข้อมูลความรู้จาก artsmen.net/content/show.php?Category=newsboard&No

วันอังคารที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2555

เสพข่าวแล้วอยากเล่า

อ่านข่าวไทยรัฐฉบับวันอาทิตย์ที่1มกราคม2555 หน้า15
หัวข้อข่าว  จับคาหนังคาเขารีดไถเงิน 2 แสน
ปปช. รวบนายกเทศมนตรีเทศบาล ต.ตะขบ อ.ปักธงไชย รีดไถเงินบรรจุเข้าทำงาน 2 แสนบาท แลกกับลายเซ็นอนุมัติแต่งตั้งในตำแหน่งงานครูผู้ดูแลเด็กเทศบาล ต.ตะขบ โดยผู้เสียหายสอบบรรจุได้

ข่าวประชาสัมพันธ์

วันอาทิตย์ที่  8  มกราคม  2555 เวลา่  08.00 - 15.00 น.  เลือกตั้งผู้ใหญ่บ้าน  หมู่ 3  ต. กระแชง  อ. สามโคก  จ. ปทุมธานี
 

วันจันทร์ที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2555


ประเทศไทยมีไว้เพื่อนใคร
อนุสาวรีย์มีไว้ทำไม

อำนาจเงินตรา

เงินตรากับการเมือง

สิ่งที่ทุกคนต้องการ

วิ่งกันฝุ่นตลบ

อย่างนี้ต้องแก้

แก้ไขหรือไม่แ้ก้ไขรัฐธรรมนูญอะไรดีกว่ากัน