วันจันทร์ที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2554

รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 ให้ความสำคัญกับการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่นซึ่งยังคงไว้ในเรื่องของการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น ไว้ในหมวด 14 เรื่องการปกครองส่วนท้องถิ่น โดยมาตรา 282 กำหนดไว้ว่า การกำกับดูแลองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้องทำเท่าที่จำเป็นและมีหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่ชัดเจนสอดคล้องและเหมาะสมกับรูปแบบขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายบัญญัติ โดยต้องเป็นไปเพื่อการคุ้มครองประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นหรือประโยชน์ของประเทศเป็นส่วนรวมและจะกระทบถึงสาระสำคัญแห่งหลักการปกครองตนเองตามเจตนารมณ์ของประชาชนในท้องถิ่น หรือนอกเหนือจากที่กฎหมายบัญญัติไว้มิได้ ในการกำกับดูแลตามวรรคหนึ่ง ให้มีการกำหนดมาตรฐานกลางเพื่อเป็นแนวทางให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเลือกไปปฏิบัติได้เอง โดยคำนึงถึงความเหมาะสมและความแตกต่างในระดับของการพัฒนาและประสิทธิภาพในการบริหารขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในแต่ละรูปแบบโดยไม่กระทบต่อความสามารถในการตัดสินใจดำเนินงานตามความต้องการขององค์กร
ปกครองส่วนท้องถิ่น รวมทั้งจัดให้มีกลไกการตรวจสอบการดำเนินงานโดยประชาชนเป็นหลัก(หน้า 112 – 113 เล่ม 124 ตอนที่ 47 ก ราชกิจจานุเบกษา 24 สิงหาคม 2550 )

มาตรา 282

เจตนารมณ์ของมาตรา 282 ก็เพื่อประกันความเป็นอิสระขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อป้องกันความซ้ำซ้อนในภารกิจและความไม่ชัดเจนระหว่างอำนาจหน้าที่ของราชการส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และส่วท้องถิ่น ตลอดจนกำหนดวิธีการกำกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอย่างเหมาะสม และไม่ขัดกับหลักกาปกครองตนเองตามเจตนารมณ์ของประชาชนแห่งท้องถิ่นนั้นๆ รัฐจะต้องตรากฎหมายหรือแก้ไขปรับปรุงกฎหมายรวมถึงกฎหมายที่ให้อำนาจหน้าที่แก่ราชการส่วนกลางและส่วนภูมิภาคกำกับดูแลองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะต้องทำเท่าที่จำเป็นและเพื่อคุ้มครองประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นหรือประโยชน์ของประเทศ และจะกระทบสาระสำคัญแห่งการปกครองตนเองตามเจตนารมณ์ของประชาชนในท้องถิ่นมิได้ หลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขการกำกับดูแลควรสอดคล้องและเหมาะสมกับรูปแบบขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่แตกต่างกันในหลายรูปแบบ ทั้งนี้เพื่อให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแต่ละแห่ง เลือกไปปฏิบัติได้เองตามความเหมาะสมและ การกำกับดูแลองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นโดยราชการส่วนกลางและส่วนภูมิภาคต้องส่งเสริมให้ภาคประชาชนในท้องถิ่นมีความเข้มแข็ง ในขณะเดียวกันก็ต้องเคารพบทบาทและการทำงานร่วมกันของภาคราชการท้องถิ่นของแต่ละพื้นที่

กลไกการตรวจสอบ

กลไกหลักในการตรวจสอบการบริหารการจัดการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น นอกจากการกระจายอำนาจเพื่อให้ประชาชนในท้องถิ่นหรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสามารถที่จะดูและบริหารจัดงาโครงการ กิจกรรมและงบประมาณได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นยังจำเป็นต้องจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นของตนเองขึ้น เนื่องจากแผนคือสิ่งที่กำหนดไว้ล่วงหน้าเกี่ยวกับงานที่จะกระทำในอนาคต ซึ่งจะทำให้สามารถค้นหา หรือชี้ให้ทราบถึงปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้น หรือช่วยให้เห็นถึงโอกาสต่างๆที่จะเกิดขึ้นช่วยปรับปรุงและยกระดับคุณภาพกระบวนการตัดสินใจในองค์การให้ดีขึ้น ช่วยในการปรับทิศทางในอนาคตขององค์กร ตลอดจนค่านิยม และวัตถุประสงค์ขององค์กรให้ชัดเจนเสมอ ช่วยให้องค์กรสามารถปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมที่จะเกิดขึ้นในอนาคต

แผนพัฒนาจังหวัด

แผนพัฒนาจังหวัดขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนอกจากจะเป็นแผนที่ใช้เพื่อเป็นเครื่องมือในการบริหารจัดการองค์การให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลแล้ว แผนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นยังเป็นแผนที่เกิดจากการกระจายอำนาจของราชการส่วนกลางและราชการส่วนภูมิภาค สู่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อให้จัดการบริการสาธารณะ เพื่อแก้ปัญหา และตอบสนองความต้องการของประชาชนในท้องถิ่น แผนพัฒนาจังหวัดขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

พระราชบัญญัติองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542

ตามพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 ได้เพิ่มอำนาจหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนจังหวัดให้ทำหน้าที่ในการประสานแผนพัฒนาท้องถิ่นกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นๆในพื้นที่จังหวัด ซึ่งแผนดังกล่าว ครอบคลุมพื้นที่การบริหารงานภายใจังหวัด และย่อมคลอบคลุมไปถึงพื้นที่ทับซ้อนในการบริหารงานของ องค์การบริหารส่วนตำบลและเทศบาล ในเขตจังหวัดนั้นเข้าไปด้วย ซึ่งแต่และองค์กรเหล่านั้นก็มีระเบียบ กฎหมาย มอบหมายอำนาจหน้าที่ให้แต่ละเทศบาลและ องค์การบริหารส่วนตำบล เหล่านั้นจัดทำแผนในการดำเนินการพัฒนาท้องถิ่นเป็นของตัวเอง ดังนั้นในการจัดทำแผนพัฒนาจังหวัดขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจึงมีการประสานงานการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นฯร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่น เพื่อให้การพัฒนาจังหวัดเป็นไปในทิศทางเดียวกัน ลดภาระการซ้ำซ้อนของงานที่จะเกิดขึ้นในพื้นที่จังหวัดลดการสิ้นเปลืองงบประมาณในการลงทุน ซึ่งแผนพัฒนาจังหวัดขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเกิดจากการกระบวนการจัดทำแบบบูรณาการ ร่วมกับหน่วยงานอื่นๆที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ อาทิองค์การบริหารส่วนตำบลเทศบาล หน่วยงานราชการในพื้นที่ ภาคประชาชน ภาคเอกชน มูลนิธินักวิชาการ และผู้เชียวชาญในสาขาวิชาต่างๆ เข้ามาร่วมกันแสดงความคิดเห็นผ่านเวทีประชุมประชาคม

แผนพัฒนาองค์กร

กระบวนการในการระดมความคิดเห็นโดยมีวิธีการจัดทำในรูปของคณะกรรมการจัดทำและประสานแผนพัฒนา ระดับอำเภอ ซึ่งเป็นการระดมความต้องการ ปัญหา และอุปสรรคและข้อเสนอแนะขององค์การบริหารส่วนตำบลและเทศบาลในพื้นที่ของอำเภอนั้นๆ และแต่ละอำเภอก็จะจัดส่งแผนพัฒนาท้องถิ่นของแต่ละอำเภอนั้นส่งต่อมายังคณะกรรมการจัดทำและประสานแผนระดับจังหวัด ซึ่งคณะกรรมการระดับจังหวัดมาจาก นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดหัวหน้าส่วนราชการในพื้นที่จังหวัด ประธานมูลนิธิ ตัวแทนภาคประชาชน ตัวแทนภาคประชาสังคม เข้ามาร่วมกันพิจารณารวบรวมแผนของแต่ละอำเภอ จัดทำเป็นแผนพัฒนาจังหวัดขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อใช้เป็นแนวทางในการดำเนินงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัด เพื่อให้การพัฒนาจังหวัดเป็นไปในทิศทางเดียวกัน และสามารถเห็นถึงภาพรวมของจังหวัดว่า มีทรัพยากรในการบริหารงานเท่าใด อย่างไรและจะจัดสรร ทรัพยากรเหล่านั้นไปให้ตรงกับความต้องการของแต่ละอำเภอเพื่อให้การพัฒนาท้องถิ่นเป็นไปอย่างราบรื่นและมีประสิทธิ ภาพส่งผลต่อความสำเร็จในการบริหารจังหวัดเพื่อให้ประชาชนมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น มีการจัดทำบริการสาธารณะอย่างครอบคลุมและทั่วถึง